ประวัติความเป็นมาของจังหวัดระยอง
ระยองเริ่มปรากฏชื่อในพงศาวดารเมื่อปีพุทธศักราช 2113 ในรัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาแห่งกรุงศรีอยุธยา การก่อตั้งเมืองมีข้อสันนิษฐานว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช 1500 ยุคที่ขอมมีอานุภาพเฟื่องฟูแถบดินแดนสุวรรณภูมิ นักโบราณคดีได้สันนิษฐานจากหลักฐานที่พบ คือ ซากศิลาแลง คูค่ายที่ยังหลงเหลืออยู่ในเขตอำเภอบ้านค่าย อันเป็นศิลปะการก่อสร้างแบบขอม ประวัติศาสตร์ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาได้กล่าวถึงเมืองระยอง ในช่วงที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 ในรัชสมัยของพระเจ้าเอกทัศน์ ในเดือนยี่ ปีพุทธศักราช 2309 พระยาวชิระปราการ หรือ พระยาตาก พร้อมไพร่พลประมาณ 500 คน ได้ตีฝ่าวงล้อมทัพพม่ามุ่งสู่ตะวันออกมาหยุดพักไพร่พลที่เมืองระยองและได้ปราบปรามคณะกรมการเมืองที่แข็งข้อ จนยึดเมืองระยองได้ ก่อนเดินทัพต่อไปยังเมืองจันทบุรี เพื่อยึดเป็นที่ตั้งมั่นในการกอบกู้อิสรภาพคืนจากพม่าได้ในปีพุทธศักราช 2311
ชื่อเมือง “ระยอง” ไม่มีคำแปลในภาษาไทย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำในภาษาของชนเผ่าชอง ซึ่งจัดอยู่ในสายตระกูลมอญ-เขมร มีสมมุติฐานที่เชื่อกันว่าเป็นชาวพื้นเมืองดั้งเดิมเผ่าหนึ่งซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดระยองและบริเวณชายทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย แถบจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง
คำว่า “ระยอง” ซึ่งออกเสียงว่า “รา-ย็อง” ในภาษาชองมีความหมายว่า “เขตแดน” อีกนัยหนึ่งกล่าวว่า “ราย็อง” ในภาษาชองมีความหมายว่า “ไม้ประดู่” ซึ่งเป็นต้นไม้ที่ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นป่าปรากฏอยู่ทั่วไปจนเป็นสัญลักษณ์ของท้องที่
นอกจากนี้มีตำนานเล่ากันว่าในสมัยโบราณมียายชื่อ “ยอง” ได้มาทำไร่ในบริเวณนี้จนเป็นที่รู้จักไปไกล ใครๆ พากันเรียกท้องถิ่นนี้ว่า “ไร่ยายยอง” ต่อมาเสียงเรียกได้เพี้ยนเป็น “ระยอง” ข้อสังเกตทางวิชาการด้านภาษา คือ การที่ชาวเขมรเรียกหอยว่า “คะยอง” และจังหวัดระยองอยู่ชายทะเล มีหอยชุกชุมตามชายฝั่งแม่น้ำระยอง บ้านดอน อู่ตะเภา รอตาหวน วังญี่ปุ่น เนินพระ ซึ่งชื่อ “ระยอง” อาจเพี้ยนมาจาก “คะยอง” ก็ได้
สภาพทั่วไปของจังหวัดระยองที่ตั้งและอาณาเขตจังหวัดระยองมีพื้นที่ประมาณ 3,552 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2,220,000 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 12 -13 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 101 - 102 องศาตะวันออก ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 179 กิโลเมตร มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ | ติดเขตอำเภอหนองใหญ่ อำเภอบ่อทอง และอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ทิศใต้ | ติดฝั่งทะเลยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ของอ่าวไทย |
ทิศตะวันออก | ติดเขตอำเภอนายายอาม และอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี |
ทิศตะวันตก | ติดเขตอำเภอสัตหีบ และอำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี |
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศจังหวัดระยองมีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาในด้านตะวันออก และตอนกลาง มีพื้นที่ลาดเชิงเขาและที่ราบระหว่างหุบเขาจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำ ด้านตะวันออกบรรจบกับที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันตก ทิศใต้เป็นอ่าวเล็กๆ และเกาะต่างๆ
จังหวัดระยองมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ลมทะเลพัดผ่านตลอดปี อากาศอบอุ่นไม่ร้อนจัด บริเวณชายฝั่งทะเลเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคมของทุกปี ในปี 2546 มีฝนตกเฉลี่ยตลอดปี 118 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,769.50 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 22.9 องศาเซลเซียส
จังหวัดระยองมีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ลมทะเลพัดผ่านตลอดปี อากาศอบอุ่นไม่ร้อนจัด บริเวณชายฝั่งทะเลเย็นสบาย ในฤดูฝนจะมีฝนตกชุกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง ตุลาคมของทุกปี ในปี 2546 มีฝนตกเฉลี่ยตลอดปี 118 วัน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,769.50 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 37 องศาเซลเซียสและอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุด 22.9 องศาเซลเซียส
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดชลบุรี
จังหวัดชลบุรี เป็นดินแดนที่ปรากฏขึ้นมาในหน้าประวัติศาสตร์ตั้งแต่สมัยทวารวดี ขอม และสุโขทัย แต่เดิมเป็นเพียงเมืองเกษตรกรรมและชุมชนประมงเล็กๆหลายเมืองกระจัดกระจายกันอยู่ห่างๆ
โดยในทำเนียบศักดินาหัวเมืองสมัยอยุธยากำหนดให้ชลบุรีเป็นเมืองชั้นจัตวา ส่วนแผนที่ไตรภูมิก็มีชื่อตำบลสำคัญของชลบุรีปรากฏอยู่ เรียงจากเหนือลงใต้ คือ เมืองบางทราย เมืองบางปลาสร้อย เมืองบางพระเรือ
(ปัจจุบันคือบางพระ) และเมืองบางละมุง แม้ว่าจะเป็นเพียงเมืองเล็กๆ แต่ก็อุดมไปด้วยทรัพยากรทั้งบนบกและในทะเล มีการทำไร่ ทำนา ทำสวน และออกทะเลมาแต่เดิม นอกจากนี้ยังมีการติดต่อกับชาวจีนที่ล่องเรือสำเภาเข้ามาค้าขายกับกรุงสยามด้วย
|
ดินแดนที่เรียกว่าจังหวัดชลบุรี มีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์แล้ว คือสามารถย้อนไปได้จนถึงยุคหินขัด เช่น
บริเวณที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำพานทองเคยมีมนุษย์ยุคหินใหม่อาศัยอยู่
โดยชนกลุ่มนี้นิยมใช้ขวานหินขัดเพื่อการเก็บหาล่าไล่ รวมถึงใช้ลูกปัดและกำไล
ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบลงไปขณะดินยังไม่แห้ง นอกจากนี้ยังพบเศษอาหารทะเลพวกหอย ปู และปลาอีกด้วย เมื่อปี พ.ศ. 2522 ได้มีการขุดสำรวจที่ตำบลพนมดี อำเภอพนัสนิคม
พบร่องรอยของชุมชนโบราณก่อนประวัติศาสตร์โคกพนมดี ทำให้สันนิษฐานได้ว่า ภายในเนื้อที่ 4,363 ตารางกิโลเมตรของชลบุรี อดีตเคยเป็นที่ตั้งเมืองโบราณที่มีความรุ่งเรืองถึง 3 เมือง ได้แก่ เมืองพระรถ เมืองศรีพโล และ เมืองพญาแร่ โดยอาณาเขตของ 3 เมืองนี้รวมกันเป็นจังหวัดชลบุรีในปัจจุบัน
เมืองพระรถ
ในสมัยทวารวดีและสมัยลพบุรี ประมาณ 1,400-700 ปีก่อน บริเวณตำบลหน้าพระธาตุ อำเภอพนัสนิคมในปัจจุบัน มีร่องรอยของเมืองใหญ่ชื่อ “เมืองพระรถ” ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มซึ่งแม่น้ำหลายสายไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำพานทอง โดยสามารถใช้แม่น้ำสายนี้เป็นทางคมนาคมติดต่อกับเมืองศรีมโหสถในจังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบันคือบริเวณบ้านสระมะเขือ บ้านโคกวัด และบ้านหนองสะแก อำเภอศรีมโหสถ) จนไปถึงอำเภออรัญประเทศได้ อีกทั้งยังมีเส้นทางเดินเท้าเชื่อมไปถึงจังหวัดระยองและจันทบุรี ผ่านเมืองพญาเร่ซึ่งเป็นเมืองโบราณสำคัญอีกแห่งหนึ่งของชลบุรี เมืองพระรถจึงกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของชลบุรีในยุคนั้น นอกจากนี้ นักโบราณคดียังสำรวจพบว่าเมืองพระรถเป็นเมืองโบราณยุคเดียวกับเมืองศรีพโล หรือเก่ากว่าเล็กน้อย เนื่องจากปรากฏว่ามีทางเดินโบราณเชื่อมต่อสองเมืองนี้ในระยะทางประมาณ 20กิโลเมตร
เมืองศรีพโล
“เมืองศรีพโล” ตั้งอยู่บริเวณบ้านอู่ตะเภา ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมืองชลบุรี หน้าเมืองมีอาณาเขตจรดตำบลบางทรายในปัจจุบัน เคยมีผู้ขุดพบโบราณวัตถุหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปทองคำ สัมฤทธิ์ แก้วผลึก ขันทองคำ ถ้วยชามสังคโลกคล้ายของสุโขทัย จระเข้ปูน และก้อนศิลามีรอยเท้าสุนัข เป็นต้น นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเมืองศรีพโลเป็นเมืองในสมัยขอมเรืองอำนาจแห่งภูมิภาคอุษาคเนย์ และอาจจะมีอายุร่วมสมัยกับลพบุรีซึ่งอยู่หลังยุคอู่ทอง และก่อนยุคอยุธยาคือประมาณปี พ.ศ. 1600-1900
จากการขุดค้นทางโบราณคดีทำให้ทราบว่า ตัวเมืองศรีพโลตั้งอยู่ใกล้กับปากน้ำบางปะกง โดยเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนในสมัยสุโขทัย เมืองนี้มีฐานะเป็นเมืองท่าชายทะเลที่มั่งคั่ง เปิดรับเรือสำเภาจากจีน กัมพูชา และเวียดนาม
ให้มาจอดพักก่อนเดินทางต่อไปยังปากน้ำเจ้าพระยา (เป็นที่น่าเสียดายว่ากำแพงเมืองศรีพโลได้ถูกทำลายไปหมดสิ้นจากการก่อสร้างถนนสุขุมวิท
จึงไม่เหลือร่องรอยทางโบราณคดีไว้ให้ศึกษา) ต่อมาในสมัยอยุธยาเมืองศรีพโลก็ค่อยๆหมดความสำคัญลง
อาจเพราะปากแม่น้ำตื้นเขินจากการพัดพาสะสมของตะกอนจำนวนมหาศาล ประชาชนจึงย้ายถิ่นฐานลงมาสร้างเมืองใหม่ที่ “บางปลาสร้อย” ซึ่งก็คือ “เมืองชลบุรี” ในปัจจุบัน (วัดใหญ่อินทารามในตัวเมืองชลบุรีปัจจุบัน
ยังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังการค้าขายระหว่างคนไทย จีน และฝรั่ง บ่งบอกถึงบรรยากาศการค้าขายอันคึกคักในอดีต)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น